กระเบื้องขนาดเท่าไหร่ถึงเรียกว่าใหญ่ กระเบื้องแผ่นใหญ่ จะมีขนาดใหญ่กว่ากระเบื้องทั่ว ๆ ไป โดยกระเบื้องไม่จำเป็นจะต้องเป็นกระเบื้องชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งกระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือจะเป็นกระเบื้องแกรนิตโต้ก็ได้ อีกทั้งยังมีสี และลวดลายที่สวยงาม ให้เลือกอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องลายหินอ่อน กระเบื้องลายหินลาวา หรือ ทราเวอร์ทีน กระเบื้องสีพื้น และกระเบื้องลายหิน ก็มีให้เลือกหลากหลายแบบ เหมาะสำหรับพื้นที่กว้าง หรือสามารถนำไปตกแต่งเป็นผนัง feature wall ได้
ขนาดของกระเบื้อง
1. กระเบื้องแผ่นเล็ก ขนาด 30x30 เซนติเมตร
2. กระเบื้องแผ่นกลาง ขนาด 30x60 เซนติเมตร และ 60x60 เซนติเมตร
3. กระเบื้องแผ่นใหญ่ ขนาด 60x120, 75x150 และ 90x180 เซนติเมตร
4. กระเบื้องแผ่นใหญ่พิเศษ ขนาด 120x240 เซนติเมตร และ 160x320 เซนติเมตร
ข้อดีของกระเบื้องแผ่นใหญ่
การใช้กระเบื้องแผ่นใหญ่มาปูพื้น และผนัง ที่เห็นได้ชัดเจน คือ รอยต่อของระหว่างกระเบื้องน้อยลง พื้นผิวดูสวยงาม มีความหรูหรา และสบายตา มากกว่าพื้นที่ ที่ปูด้วยกระเบื้องที่มีขนาดเล็กกว่า
1. ความกลมกลืน
กระเบื้องแผ่นใหญ่ มีความกลมกลืนมากกว่าการปูกระเบื้องขนาดเล็ก เพราะลายของกระเบื้องจะดูต่อเนื่องกัน
2. ดูแลรักษา ทำความสะอาดง่าย
กระเบื้องผิว POLISHED การดูแลรักษา และทำความสะอาดง่าย เนื่องจากกระเบื้องมีรอยต่อน้อย นอกจากนี้การดูแลรักษาง่ายกว่ากระเบื้องแผ่นเล็ก เพียงใช้น้ำเปล่า และผ้าสะอาด เช็ดทำความสะอาด
3. ลวดลายสวยงาม
พื้นผิวดูเรียบเนียนมากกว่ากระเบื้องธรรมดาทั่วไป พร้อมมอบความเพอร์เฟกต์ สไตล์โมเดิร์น
4. ให้ความหรูหรา ทันสมัย สร้างความโดดเด่น แตกต่างอย่างไร้ที่ติ
5. ให้ความเป็นธรรมชาติ ด้วยลายหิน เสมือนหินอ่อน
6. ราคาถูกกว่าการใช้หินจริง
ซีรีส์ที่เป็นเอกสิทธิ์ หนึ่งเดียวในไทย จากไทย สุงฯ ลวดลายสามารถต่อกันได้ลงตัว ไร้รอยต่อ ดูเรียบเนียน และเป็นธรรมชาติ

( ภาพห้องตัวอย่างตกแต่งด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่ รหัสสินค้า V189J859PABCD ) เป็นสีของธรรมชาติ สัญลักษณ์แห่งความสงบ สุขุม และมีพลังดั่งต้องมนต์

( ภาพห้องตัวอย่างตกแต่งด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่ รหัสสินค้า V2412J951PAB ) เรียบหรู ให้ความสบายตา ทำให้พื้นที่ดูกว้าง และสว่างขึ้น เหมือนแสงสว่างแห่งความสำเร็จ
วิธีการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ และแผ่นใหญ่พิเศษ
กระเบื้องแผ่นใหญ่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก การขนย้าย หรือวิธีการปูก็จะแตกต่างจากกระเบื้องขนาดอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระเบื้องเกิดปัญหากระเบื้องโก่งตัว กระเบื้องระเบิด หรือหลุดล่อนออกไป จึงควรหลีกเลี่ยงการปูพื้นแบบซาลาเปา คือ การปูแบบโป๊ะปูนซีเมนต์เป็นก้อนตามมุมกระเบื้อง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดช่องว่างที่ด้านหลังของแผ่นกระเบื้อง และจะส่งผลให้เกิดความชื้นเข้าไปสะสมตัวได้ง่าย จนทำให้เกิดการโก่งตัว หรือหลุดล่อนออกในเวลาต่อมา
วิธีที่เหมาะสมในการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่
ควรหาช่างที่มีความชำนาญ และใช้วิธีปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์เวเบอร์ไทล์ เฟล็กซ์ ที่เหมาะสำหรับกระเบื้องแผ่นใหญ่ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ได้พื้น และผนัง ที่มีความแข็งแรง ทนทานสูง ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร ตึกสูง หรือใช้วิธีการปูแบบแห้ง คือการใช้โครงเหล็กในการติดตั้งซึ่งแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน ช่วยรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม
เทคนิคการปูกระเบื้องแผ่นใหญ่
การปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ให้ออกมามีคุณภาพที่ดี ไม่ได้มีขั้นตอนการทำที่ยาก หรือซับซ้อนมากมายนัก แค่เพียงต้องใส่ใจในทุกขั้นตอน โดยขั้นตอนดังนี้
1. ควรมีการจัดระดับ ปรับระดับพื้นกระเบื้องเสมอ
2. การปูด้วยกาวซีเมนต์ควรใช้ปูกระเบื้องโดยเฉพาะ เป็นกาวซีเมนต์เวเบอร์ไทล์ เฟล็กซ์ สำหรับปูกระเบื้องขนาดใหญ่
3. เมื่อปูกาวซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ใช้ปูนกาวปาดลงไป ทั้งหมด 2 ตำแหน่ง
ตำแหน่งที่ 1 ปาดลงบนพื้น หรือผนังบริเวณที่ต้องการจะปู

ตำแหน่งที่ 2 ปาดลงไปด้านหลังกระเบื้อง

4. เพิ่มอายุการใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เกรียงหวีปูกระเบื้อง
แนะนำให้ใช้เกรียงหวีปูกระเบื้องแทนการใช้เกรียงใบโพธิ์ เพราะการใช้เกรียงหวีลากลงไป จะได้ปริมาณความหนาของกาวซีเมนต์ที่เท่ากัน สม่ำเสมอมากกว่าและจะทำให้ประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างพื้นกับกระเบื้องนั้นดีกว่าการใช้เกรียงใบโพธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้อายุใช้งานของกระเบื้องยาวนานขึ้น ไม่หลุดล่อนออกมาง่าย
5. ลากเกรียงหวี หันด้านซี่ออก ก็เป็นหนึ่งในเคล็ดลับ
การปาดกาวลงไป แนะนำให้ลากเกรียงหวี หันด้านซี่ออก เพื่อปาดกาวซีเมนต์ออกเป็นทางยาวบนผนัง หรือพื้นที่ต้องการปูกระเบื้อง
6. เลือกหวีให้เหมาะสมกับกระเบื้องที่ใช้
ควรเลือกหวีให้เหมาะสม กับกระเบื้องที่คุณใช้ เช่น เกรียงหวี U9 เหมาะกับ กระเบื้องที่มีขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปริมาณของกาวซีเมนต์ที่เกลี่ย
7. ความหนาของกาวซีเมนต์ควรอยู่ประมาณ 2-10 มิลิเมตร
8. ยิ่งกระเบื้องใหญ่ กาวซีเมนต์ที่ควรใช้ก็ควรจะหนาขึ้นไปด้วย
9. ไม่ควรปล่อยกาวซีเมนต์เลอะบนแผ่นกระเบื้อง
หากพบว่ามีกาวซีเมนต์เลอะอยู่บนแผ่นกระเบื้อง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรเช็ดออกด้วยฟองน้ำทันที เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไป คราบนั้นจะออกค่อนข้างยาก
10. ร่องยาแนวจะต้องมีความกว้างกระเบื้องอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
และเมื่อยาแนวเต็มร่องแล้วควรล้างทำความสะอาดให้สวยงาม
11. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า จัดระดับ และระนาบของกระเบื้องได้ดีแล้วปล่อยให้แห้ง 24 ชั่วโมง
12. เลือกสีของยาแนวให้มีสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระเบื้องมากที่สุด หากต้องการให้พื้นที่ดูกว้าง หรูหรา
ขอแนะนำให้เลือกสีของยาแนวให้มีสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระเบื้องมากที่สุดเพื่อความกลมกลืนกันระหว่างยาแนว และกระเบื้อง ทำให้รอยต่อระหว่างกระเบื้องดูสวยขึ้น และเรียงต่อกัน
13. เลือกสีของยาแนวให้ตัดกับกระเบื้องเดิม หากต้องการจะโชว์ลวดลายตัดขอบกระเบื้อง
14. เลือกช่างที่มีความเชี่ยวชาญ
การปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ควรเลือกช่างที่มีความเชี่ยวชาญในการปู เพื่อไม่ให้เกิดการโก่งตัว, ระเบิด หรือหลุดล่อนของกระเบื้อง

15. หากกระเบื้องความสูงเกิน 3 เมตร สามารถเลือกใช้วิธี Cladding ตามที่ผู้จำหน่ายแนะนำได้
ระบบ Cladding คือ ระบบการติดตั้งแผงวัสดุโดยใช้ระบบแห้ง ( Dry process : ไม่มีน้ำมาเกี่ยว ) หลักการ คือ ตั้งโครงบนผนังก่อนแล้วจึงค่อยยึด แผ่นวัสดุเข้ากับโครงนั้นอีกที ในกรณีวัสดุทั่วๆไป เช่น ติดตั้งแผงแผ่นอะลูมิเนียม หรือ แผ่นกระเบื้องสมาร์ตบอร์ดนั้น
ขั้นตอนจะจบตอนยึดสกรูแผ่นเข้ากับโครง แต่กรณีเป็นกระเบื้อง อาจต้องมีการอุดช่องว่างหลังแผ่นและยาแนวซึ่งเป็นงานเปียก ( wet process )
เพื่อเสริมความทึบและแข็งแรงขึ้น แผ่นไม่แตกทะลุง่ายเวลาโดนกระแทก ระบบ Cladding เฉพาะงานติดตั้งกระเบื้องนี้น่าจะเป็นเรื่อง ค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเรา อาจหาวัสดุอุปกรณ์เฉพาะ และช่างที่ชำนาญค่อนข้างยาก
ข้อดีข้อเสียของการติดตั้งแบบ Cladding อีกวิธี คือ การปูแบบแขวนตะขอหลักการ คือ จะบากหลังกระเบื้องให้เป็นร่องทา Epoxy แล้วแขวนไว้กับตะขอโลหะที่ฝังไว้ในผนัง วิธีนี้ปกติใช้ทั่วไปสำหรับการปูแผ่นหินแกรนิตหรือหินอ่อนซึ่งมีความหนาของแผ่น 2 ซม. ในกรณีที่กระเบื้องหนาเพียง 1 ซม.
อาจต้องระมัดระวังในการเซาะร่องหลังแผ่นไม่ให้ลึกเกินไปอาจแตกเสียหายได้ วิธีนี้จะมีข้อเสียคือทำงานยากดังกล่าว รวมทั้งอาจต้องบากหลังกระเบื้องหลายจุด รวมทั้งการปูด้วยกาวซีเมนต์บาง ๆ จะเหลือพื้นที่น้อยทำงานยากอีกวิธีที่พอจะนึกออกตอนนี้ คือปูด้วยปูนกาวซีเมนต์ปกติ แต่เพิ่มตัวล็อกด้านบนกันแผ่นล้ม เช่นทำเป็นบัวเดินรัดกระเบื้อง ฯลฯ อาจต้องปรึกษาผู้ออกแบบ
คำแนะนำในการติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหญ่
1. การติดตั้งกระเบื้องในพื้นที่เดียวกันควรเป็นเฉดสีเดียวกันทั้งหมด ( ดูจากข้อมูลข้างกล่อง )
2. ในกรณีติดตั้งกระเบื้องในพื้นที่ทั่วไป ที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร แนะนำวิธีติดตั้งแบบปูแห้งแบบแซนด์วิช
( ติดตั้งด้วยเกรียงหวีร่องตัวยูขนาด 6 และ 20 มิลลิเมตร ) โดยกาวซีเมนต์ที่ใช้ในการติดตั้งต้องมีแรงยึดเกาะอย่างน้อย 1 นิวตัน ต่อตารางมิลลิเมตร ( Bonding Strength ≥ 1 N/m2 ) หรือตามข้อกำหนดของผู้ผลิตกาวซีเมนต์ยี่ห้อนั้นๆ
3. หากความสูงเกิน 3 เมตร แนะนำให้ติดตั้งโดยใช้ระบบ Cladding System
4. การยกกระเบื้องเข้ามาติดตั้ง ควรใช้ตัวจับกระจกและคนช่วยยกอย่างน้อย 2 คน และเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย 2 มิลลิเมตรในการติดตั้ง
● สำหรับการติดตั้งกระเบื้องขนาดใหญ่ที่พื้นแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยปรับระดับและร่องยาแนวกระเบื้องขนาดร่องยาแนวอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร เพื่อช่วยในการปรับระดับและเว้นร่องยาแนวของกระเบื้องให้ดูสวยงาม
● ส่วนผนังแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยยึดกระเบื้องเข้ากับผนังเช่น เหล็กฉากกับตะปู เป็นต้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการไหลตัวของกระเบื้องที่อาจจะหลุดหล่นใส่ช่างติดตั้งในระหว่างการทำงานได้ และตัวเว้นร่องยาแนว ( Tiles Spacer ) ขนาดอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร เพื่อช่วยในการเว้นร่องยาแนวของกระเบื้องให้ดูสวยงาม