ค้นหาสินค้า

Tips&Ideas


พื้นลามิเนตกับกระเบื้องยาง: ข้อดีข้อเสียที่ควรรู้ก่อนเลือก

พื้นลามิเนตกับกระเบื้องยาง:-ข้อดีข้อเสียที่ควรรู้ก่อนเลือก

หากกำลังวางแผนปรับปรุงบ้านใหม่ หรือต้องการสร้างบ้าน การเลือกวัสดุปูพื้นถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะพื้นบ้านไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบของโครงสร้าง แต่ยังส่งผลต่อความสวยงามและการใช้งานในระยะยาวด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุปูพื้นหลายประเภทให้เลือกใช้ โดยเฉพาะพื้นลามิเนตกับกระเบื้องยาง ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน การศึกษารายละเอียดของพื้นในแต่ละประเภทจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกกระเบื้องได้อย่างเหมาะสมที่สุด

พื้นไม้ลามิเนต

พื้นลามิเนตเป็นวัสดุที่ผลิตจากการอัดแผ่นไม้ที่แตกเป็นเส้นใยละเอียดหรือเศษไม้ แล้วนำมาเคลือบผิวด้านบนด้วยแผ่นฟิล์มที่ออกแบบลวดลายให้คล้ายคลึงกับไม้จริง โดยมีลักษณะการปูแบบคลิกล็อก (Click Lock) การปูพื้นลามิเนตจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปติดตั้งด้วยตนเอง โดยพื้นไม้ลามิเนตมีข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณา ดังนี้

ข้อดีของพื้นไม้ลามิเนต


  • ลักษณะใกล้เคียงกับไม้จริง เนื่องจากถูกออกแบบให้มีลวดลายที่เหมือนไม้ธรรมชาติ ทั้งสีสันและพื้นผิวสัมผัส โดยพื้นผิวด้านบนมักจะเคลือบฟิล์มที่มีลายไม้ เช่น ลายไม้สัก ไม้โอ๊ก หรือไม้เมเปิล ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและหรูหราให้กับพื้นที่อยู่อาศัย 

  • ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่า การติดตั้งพื้นไม้ลามิเนตใช้ระบบ Click Lock ทำให้การปูพื้นเป็นเรื่องง่าย โดยไม่ต้องใช้กาวหรือปูนเหมือนกระเบื้องทั่วไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าแรงช่าง 

  • ราคาไม่แพง เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าในด้านราคาเมื่อเทียบกับวัสดุปูพื้นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ไม้จริง หรือกระเบื้องลายไม้ จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด แต่ยังต้องการพื้นผิวที่สวยงาม

  • มีลวดลายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลายไม้เข้มสำหรับสไตล์โมเดิร์น หรือไม้สีอ่อนสำหรับสไตล์มินิมอล ทำให้สามารถเลือกปรับแต่งให้เหมาะกับสไตล์ของบ้านได้

  • ทนทานต่อรอยขีดข่วน พื้นผิวของไม้ลามิเนตมักเคลือบสารกันรอยขีดข่วน จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการใช้งานหนัก ทั้งยังช่วยป้องกันรอยจากเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เช่น เก้าอี้ หรือโต๊ะ

ข้อเสียของพื้นไม้ลามิเนต


  • ไม่ทนต่อความชื้น แม้พื้นไม้ลามิเนตจะมีความแข็งแรง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องความชื้น หากใช้งานในพื้นที่เปียกชื้น เช่น ห้องน้ำและห้องครัว อาจเกิดปัญหาพื้นบวมหรือพื้นโก่งจนผิดรูป เพราะโครงสร้างภายในของลามิเนตทำจากวัสดุที่อัดจากไม้จึงดูดซับน้ำได้ง่าย

  • ไม่เหมาะสำหรับการวางเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ หรือมีน้ำหนักที่มากเกินไป เช่น การวางตู้เสื้อผ้าขนาดใหญ่ หรือเปียโน เนื่องจากอาจทำให้พื้นเกิดรอยยุบ หรือข้อต่อในระบบ Click Lock หลุดจากกัน ทำให้โครงสร้างพื้นเสียหาย

กระเบื้องยาง

กระเบื้องยาง เป็นวัสดุที่ทำจาก PVC หรือยางสังเคราะห์ มีความยืดหยุ่นและทนทานสูง โดยสามารถเลียนแบบลายไม้ หิน หรือกระเบื้องได้ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการพื้นผิวที่มีลวดลายหลากหลาย โดยมีข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณา ดังนี้

ข้อดีของกระเบื้องยาง


  • ทนต่อความชื้น ด้วยโครงสร้างของวัสดุ ทำให้กระเบื้องยางไม่ดูดซับน้ำ จึงไม่มีปัญหาเรื่องบวม เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีโอกาสเปียกชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ หรือห้องซักล้าง

  • ติดตั้งง่าย การติดตั้งกระเบื้องยางสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว โดยมีทั้งแบบปูกาวและระบบ Click Lock แต่จำเป็นต้องปรับแต่งพื้นให้มีผิวหน้าเรียบ แข็ง แห้ง และสะอาดเสียก่อน

  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรับน้ำหนักจากเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ หรือแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเดิน หรือยืนเป็นเวลานาน 

  • บำรุงรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย เพียงใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ก็สามารถขจัดคราบสกปรกได้แล้ว อีกทั้งยังทนต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ทำให้ผิวหน้าของกระเบื้องเสียหาย

ข้อเสียของกระเบื้องยาง


  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน หากเลือกกระเบื้องยางที่ใช้ไม่มีคุณภาพ หรือทำจากวัสดุเกรดต่ำ อาจทำให้เกิดการโก่งตัว โค้งงอ หรือเสียรูป เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับแสงแดด หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การเลือกกระเบื้องยางเกรดคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้

  • หากเลือกไม่ดี อาจได้ลายที่ดูไม่เหมือนไม้จริง แม้ว่ากระเบื้องยางจะถูกออกแบบให้มีลวดลายที่หลากหลาย แต่กระเบื้องยางเกรดต่ำอาจมีลายที่ดูไม่เหมือนจริงหรือมีสีซีดจางเมื่อใช้งานไปนาน ๆ การเลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้และวัสดุคุณภาพสูงจึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา

สำหรับผู้ที่ยังสงสัยว่ากระเบื้องยาง หรือพื้นไม้ลามิเนต ควรเลือกแบบไหน ? ต้องตอบว่าการเลือกใช้วัสดุปูพื้นขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะการใช้งาน หากต้องการพื้นที่สวยงามและให้ความรู้สึกเหมือนไม้จริง พื้นไม้ลามิเนต อาจเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าต้องการวัสดุที่ทนทานต่อความชื้นและเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่เปียกชื้น เช่น ห้องน้ำ หรือห้องครัว กระเบื้องยาง ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม 

เลือกที่ตอบโจทย์ความสวยงาม ทนทานต่อความชื้น ต้องกระเบื้องยางลายไม้ SPC จากไทย สุง

เมื่อพูดถึงกระเบื้องยางคุณภาพดีที่เหมาะสำหรับการใช้งาน ไทย สุง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวัสดุปูพื้น โดยเฉพาะกระเบื้องยาง SPC (Stone Plastic Composite) ที่ผลิตจากการผสม Stone Powder และ PVC ในสัดส่วนที่สมดุล ส่งผลให้วัสดุมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ดูดซับน้ำ ลดปัญหาโก่งบวม ช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย ด้วยจุดเด่น ดังนี้


  • วัสดุ Virgin 100% กระเบื้องยาง SPC ของไทย สุง ผลิตจากวัสดุเกรดบริสุทธิ์ 100% ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสีของวัสดุที่เป็นสีขาวครีม ต่างจากวัสดุเกรดต่ำที่มักมีสีเทาหรือดำ ส่งผลให้มีความคงทนและอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 

  • โฟม IXPE คุณภาพสูง ที่อยู่ใต้แผ่นกระเบื้องช่วยเพิ่มความสะดวกในการติดตั้ง ช่วยลดเสียงดังขณะเดิน และให้สัมผัสที่นุ่มกว่า 

กระเบื้องยางลายไม้ของไทย สุง เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการความสวยงามและคุณภาพในเวลาเดียวกัน ด้วยลวดลายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลายไม้สัก ไม้โอ๊ก หรือไม้เมเปิล พร้อมโทนสีที่เลือกได้ตามความชอบ นอกจากนี้ ยังเหมาะกับทุกพื้นที่ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องครัว หรือพื้นที่ที่ต้องการความทนทานต่อความชื้น ด้วยประสบการณ์มากกว่า 21 ปี เราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลในทุกขั้นตอน ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ Hotline : 0 2138 8911-16 (อัตโนมัติ 6 คู่สาย) หรือ Add LINE Official Account: @thaisoung

แหล่งอ้างอิง


  1. Difference Between Laminate and Vinyl Flooring. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.hgtv.com/design/remodel/interior-remodel/difference-between-laminate-vinyl-flooring 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

qr_line_thaisoung
line_thaisoung
facebook_thaisoung
instagram_thaisoung
tiktok_thaisoung

tel:0 2138 8911

telephone_thaisoung
Thaisoung_writer

THAI SOUNG WRITER

เชี่ยวชาญเรื่องกระเบื้องปูพื้นและบุผนังมามากกว่า 21 ปี เราพร้อมมุ่งมั่นมอบความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเบื้องทุกประเภท เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถเลือกใช้กระเบื้องที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณด้วยมาตรฐานและคุณภาพสูงสุด


บทความ ล่าสุด