การปูกระเบื้องให้ออกมาสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การเลือกสีสัน และลวดลายของกระเบื้องให้เข้ากับสไตล์ของห้อง การใช้อุปกรณ์ปรับระดับ และอุปกรณ์จัดแนวกระเบื้องเพื่อให้กระเบื้องออกมาเรียบเนียนเสมอกัน รวมไปถึงการยาแนวกระเบื้องในขั้นตอนสุดท้ายที่ช่วยทำให้งานปูกระเบื้องออกมาสมบูรณ์แบบ อีกทั้งช่วยป้องกันการซึมของน้ำทำให้ระยะเวลาการใช้งานของกระเบื้องยาวนานยิ่งขึ้น ในบทความนี้ ไทย สุงฯ นำวิธียาแนวกระเบื้องด้วยตัวเอง รวมไปถึงวิธียาแนวกระเบื้องเก่าที่ทั้งสะดวก และประหยัดเงินในกระเป๋ามาฝากให้กับทุกคนกัน
วิธียาแนวกระเบื้อง ( กระเบื้องใหม่ )
การลง
ยาแนวกระเบื้องถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปูกระเบื้อง เป็นขั้นตอนที่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับกระเบื้องที่ปู อีกทั้งยังเพิ่มความทนทาน และป้องกันการซึมของน้ำ หากทำการลงยาแนวกระเบื้องอย่างถูกวิธีจะทำให้กระเบื้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และลดโอกาสการเกิดปัญหากับกระเบื้องในอนาคตได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
1. เตรียมพื้นผิวให้พร้อมทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการลงยาแนวกระเบื้องให้เรียบร้อย สำหรับเทคนิคในการใช้ยาแนวกระเบื้องให้ออกมาสวยงามในขั้นตอนนี้ควรใช้มีดคัตเตอร์แซะร่องกระเบื้องเพื่อขจัดฝุ่น และคราบสกปรกที่อยู่ภายในร่องกระเบื้องออกมาอย่างหมดจด
2. เตรียมยาแนวกระเบื้องให้เหมาะสมในขั้นตอนนี้ควรเลือกใช้ยาแนวกระเบื้องให้เหมาะสมกับประเภท และการใช้งานของกระเบื้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาภายหลัง ในส่วนของการผสมยาแนวกระเบื้อง ควรผสมยาแนวกับน้ำตามอัตราส่วนที่แนะนำบนบรรจุภัณฑ์ วิธีการผสมให้ค่อย ๆ ทยอยใส่น้ำ และคนให้เข้ากันจนได้เนื้อยาแนวที่ต้องการ วิธีนี้จะช่วยให้ความข้นของยาแนวออกมาพอดี และไม่เหลวจนเกินไป
3. ลงยาแนวใช้เกรียงฟันเล็ก หรือเกรียงยางปาดยาแนวลงไปในร่องกระเบื้องเป็นแนวเฉียง และกดให้ยาแนวลงในร่องจนเต็ม ระวังอย่าให้เกิดช่องว่างภายในร่อง เพราะจะทำให้ยาแนวไม่แข็งแรง และอาจเกิดรอยร้าวได้ในอนาคต จากนั้นปาดยาแนวส่วนที่เกินออกจากร่องกระเบื้องความเรียบร้อย ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ จนกว่าจะเติมยาแนวให้ครบทุกร่องกระเบื้อง
4. ทำความสะอาดหลังจากเติมยาแนวจนเต็มร่องกระเบื้องแล้ว ให้ทิ้งไว้ประมาณ 15 – 30 นาที เมื่อยาแนวแห้งลงแล้ว ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดคราบยาแนวที่เลยออกมาบนบริเวณกระเบื้อง เทคนิคในการเช็ดคราบยาแนวควรเช็ดในแนวทแยงกับร่องเพื่อป้องกันการดึงยาแนวออกจากร่องกระเบื้อง จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ให้ยาแนวสัมผัสกับน้ำ และความชื้น เพื่อให้ประสิทธิภาพของยาแนวออกมาสมบูรณ์
Tip : สำหรับบริเวณกระเบื้องที่มักจะโดนความชื้น และความมันเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว และระเบียงภายนอกบ้าน สามารถใช้ซีลเลอร์ หรือผลิตภัณฑ์ป้องกันคราบสกปรกเพื่อเคลือบผิวยาแนวอีกหนึ่งชั้น วิธีนี้ช่วยเพิ่มความทนทานให้กับยาแนวมากยิ่งขึ้น
วิธียาแนวกระเบื้องเก่า
สำหรับกระเบื้องที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานนั้น ตัว
ยาแนวกระเบื้องอาจมีการหลุดร่อน หรือเกิดเชื้อราซึ่งไม่เป็นผลดีต่อกระเบื้อง เพราะสิ่งสกปรก รวมไปถึงความชื้นสามารถเข้าไปในร่องกระเบื้องได้ง่าย หากพบว่ายาแนวกระเบื้องนั้นหลุดร่อนควรรีบทำการซ่อมแซมโดยทันที
1. เตรียมพื้นผิวให้พร้อมสำหรับกระเบื้องเก่านั้นจะมีส่วนของยาแนวเดิมติดอยู่ ให้ใช้คัตเตอร์ในการขูดยาแนวเก่าที่มีอยู่ออกให้หมด และใช้แปรง หรือเครื่องดูดฝุ่นทำการทำความสะอาดเศษฝุ่นในร่องกระเบื้อง จากนั้นใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ นำมาเช็ดทำความสะอาดบริเวณกระเบื้องที่ต้องการลงยาแนว
2. เตรียมยาแนวกระเบื้องให้เหมาะสมในการยาแนวกระเบื้องเก่า ควรเลือกใช้ยาแนวที่เหมาะสมกับประเภทของกระเบื้อง และพื้นที่การใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือการใช้งานหนัก เช่น ห้องน้ำ หรือพื้นที่ภายนอก การผสมยาแนวควรทำตามสัดส่วนที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากค่อย ๆ เติมน้ำทีละน้อยในขณะที่คนให้เข้ากัน เพื่อให้ได้เนื้อยาแนวที่พอดี เนื้อควรมีความข้นพอเหมาะ ไม่เหลวเกินไป ซึ่งจะช่วยให้การยาแนวมีประสิทธิภาพ และยึดติดได้ดี
3. การลงยาแนวใช้เกรียงยาง หรือเกรียงฟันเล็กปาดยาแนวลงไปในร่องกระเบื้องเก่า โดยให้ปาดในลักษณะเฉียงเพื่อให้ยาแนวเข้าไปเต็มร่องกระเบื้องให้เต็ม ควรกดให้ยาแนวลงไปจนเต็มร่องเพื่อป้องกันช่องว่างซึ่งอาจทำให้ยาแนวหลุดร่อน หรือแตกร้าวในอนาคต หลังจากปาดยาแนวเสร็จแล้ว ให้ปาดยาแนวส่วนที่เกินออกจากกระเบื้องให้เรียบร้อย ทำซ้ำแบบนี้จนกว่าทุกร่องของกระเบื้องจะได้รับการเติมยาแนว
4. การทำความสะอาดหลังจากเติมยาแนวครบแล้ว ควรรอให้ยาแนวเริ่มแห้งประมาณ 15-30 นาที จากนั้นใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดคราบยาแนวที่เหลืออยู่บนกระเบื้อง โดยให้เช็ดในทิศทางทแยงกับร่องยาแนวเพื่อไม่ให้ยาแนวหลุดออกจากร่องกระเบื้อง หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาแนวโดนน้ำ หรือความชื้น เพื่อให้ยาแนวแห้ง และแข็งแรงอย่างสมบูรณ์
Tips : ควรทำความสะอาด
ยาแนว และตรวจสอบสภาพของกระเบื้องก่อนทำการทายาแนวใหม่ หากพบกระเบื้องร้าว หรือกระเบื้องร่อน ควรทำการเปลี่ยนกระเบื้องก่อน จึงค่อยทำการทายาแนวลงไปใหม่ สำหรับบริเวณห้องน้ำ ห้องครัว และระเบียงภายนอกบ้าน สามารถใช้ซีลเลอร์ หรือผลิตภัณฑ์ป้องกันคราบสกปรกเพื่อเคลือบผิวยาแนวอีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำซึม และปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
คุณสมบัติของยาแนวกระเบื้องแต่ละประเภท
เวเบอร์ คัลเลอร์ คลาสสิคยาแนวเนื้อละเอียด สำหรับงานทั่วไปที่ร่องกระเบื้องกว้าง 1-6 มม. ปริมาณการใช้งาน โดยเฉลี่ย 5 ตร.ม. ต่อถุง 1 กก
เวเบอร์ คัลเลอร์ พาวเวอร์ ยาแนวป้องกันราดำ แบคทีเรีย และตะไคร้น้ำ สำหรับร่องกระเบื้องกว้าง 1-6 มม. รูพรุนต่ำ ป้องกันคราบสกปรกฝังแน่น
เวเบอร์ คัลเลอร์ เอช อาร์ ยาแนวสระว่ายน้ำ สปา และซาวน่า ทนแรงอัด แรงดันน้ำ ทนสารเคมี-คลอรีน ยึดเกาะดีเยี่ยม ไม่มีสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เวเบอร์ คัลเลอร์ สลิมยาแนวสำหรับกระเบื้องปูชิดปูชน สำหรับร่องยาแนวเล็กพิเศษ 0.2-3 มม. ป้องกันราดำ และราชนิดอื่น ๆ
การ
ยาแนวกระเบื้องถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้กระเบื้องดูสวยงาม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น โดยการเตรียมพื้นผิวให้สะอาด และเลือกยาแนวที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การยาแนวมีประสิทธิภาพ สำหรับกระเบื้องใหม่ การผสมยาแนวให้ได้เนื้อที่พอดี และการปาดยาแนวให้เต็มร่องจะช่วยป้องกันปัญหาการแตกร้าว ส่วนกระเบื้องเก่า การขูดยาแนวเดิมออก หลาย และทายาแนวใหม่อย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มความทนทานให้กับกระเบื้อง นอกจากนี้การเลือกซื้อยาแนวกระเบื้องให้เหมาะสมกับประเภทของการใช้งานก็มีส่วนทำให้ยาแนวกระเบื้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ควรเลือกซื้อกาวยาแนวคุณภาพดีจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อให้กระเบื้องสวยงามคู่กับบ้านไปอีกนานแสนนาน ที่ ไทย สุงฯ เราจำหน่ายยาแนวคุณภาพพรีเมียม สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ยาแนวสำหรับงานทั่วไป ยาแนวสำหรับห้องน้ำ ยาแนวสำหรับสระว่ายน้ำ และยาแนวสำหรับกระเบื้องร่องเล็ก
สนใจสินค้าเพิ่มเติมคลิก