ก่อนอื่นเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับกระเบื้องยาง SPC กันก่อนว่าคืออะไร
พื้น SPC หรือ Stone Plastic Composite เป็นหนึ่งในประเภทของกระเบื้องยางที่มีคุณสมบัติพิเศษ และความทนทานสูง เรานิยมเรียกกันว่า กระเบื้องยางลายไม้ ที่มีส่วนผสมจากหินปูน และพลาสติก PVC ซึ่งทำให้ตัวกระเบื้องยางนั้นมีความเหนียว, ยืดหยุ่น และแข็งแรงทนทาน ป้องกันการยุบตัวที่เกิดจากแรงกระแทก หรือจากการวางของ และเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือมีการเคลือบผิวชั้นบนด้วย UV Coating Layer และ Durable Wear Layer ทำให้ผิวกระเบื้องมีความทนทานต่อแสงแดด, รอยขีดข่วน, ต้านทานคราบสกปรก และกันน้ำมากกว่าพื้นไม้ลามิเนตทั่วไป
กระเบื้องยาง SPC มีลวดลายที่เลียนแบบตามลักษณะของไม้จากธรรมชาติ ทำให้มีลวดลายที่สวยงาม และเด่นชัด เสมือนไม้จริง อีกทั้งยังมีหลากหลายสีให้เลือกตั้งแต่โทนสีอ่อนจนไปถึงเข้ม ซึ่งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในทุกพื้นที่ ที่ใช้งานให้ดูอบอุ่น และใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อคน, สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เกรดวัสดุกระเบื้องยาง SPC มี 2 ชนิดดังนี้
1. เกรดบริสุทธิ์ ( Pure Virgin Material )
เป็นเกรดที่ทำจากวัสดุพลาสติกใหม่ที่ปราศจากสารเคมีที่ทำให้ก่อมะเร็ง และเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
2. เกรดรีไซเคิล ( Recycle Material ) เป็นเกรดที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% ซึ่งจะส่งกลิ่นสารเคมีที่คล้ายกับถุงขยะพลาสติก ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจในระยะยาวได้
สีที่แตกต่างระหว่างเกรด Pure Virgin และเกรด Recycle
จุดสังเกตง่าย ๆ ว่ากระเบื้องยาง SPC อันไหนเป็นเกรด Pure Virgin หรือเกรด Recycle นั้นเราสามารถแยกได้ด้วยการดูที่สีของตัววัสดุดังนี้
Pure Virgin Material : จะมีสีเบจ หรือสีขาว แสดงให้เห็นว่าเป็นวัสดุที่บริสุทธิ์ ไม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลมาก่อน
Recycle Material : จะมีสีเทา หรือสีเข้ม ยิ่งสีเข้มมากเท่าไหร่ ทำให้ทราบว่าวัสดุนั้นผ่านการรีไซเคิลมาหลายครั้ง
คุณภาพที่แตกต่างของทั้งสองเกรดวัสดุ
หากคุณต้องการนำกระเบื้องยาง SPC ไปปูพื้นนั้นนอกจากความสวยงามแล้วควรคำนึงถึงเกรดวัสดุที่มีคุณภาพด้วย เพราะถ้าหากเราเลือกวัสดุที่ไม่ดีไปใช้นั้นจะส่งผลเสียในระยะยาวอย่างแน่นอน
-
เกรดวัสดุที่เป็น Pure Virgin Material : มีความแข็งแรงทนทาน และทนต่อรอยขีดข่วน คราบสกปรก และการซีดของสี ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีโฟม IXPE รองด้านล่าง พร้อมคลิกล็อกที่แข็งแรงทำให้เวลาปูล็อกได้แน่น และแนบสนิท
-
เกรดวัสดุที่เป็น Recycle Material : กระเบื้องยาง SPC ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล อาจมีความทนทานต่อการสึกหรอ ทนต่อรอยขีดข่วน และความเสียหาย ประเภทอื่น ๆ ในคุณภาพที่ต่ำ และในส่วนแผ่นรองด้านล่างจะเป็นแผ่นยาง EVA ซึ่งจะส่งผลต่ออายุการใช้งานที่ไม่คงทน อีกทั้งยังมีตัวคลิกล็อกที่ไม่แข็งแรงแตกหักได้ง่าย และด้วยการผลิตแบบ Recycle นั้นทำให้มีสารเคมี ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากเกรดวัสดุ Recycle จะมีสารเคมี หรือกาวบางชนิดที่สามารถปล่อยสารประกอบอินทรีย์ ที่ระเหยง่ายเมื่อเวลาผ่านไปจะส่งผลให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เมื่อสูดดม หรือได้กลิ่น อีกทั้งยังก่อให้เกิดมะเร็งในระบบทางเดินหายใจในระยะยาว ต่างจากเกรดวัสดุ Pure Virgin ที่จะไม่มีกลิ่น และไม่มีสารเคมีที่ไม่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
การขยายตัวของวัสดุรีไซเคิล
การขยายตัวของเกรดวัสดุ Recycle หากพื้นกระเบื้องยาง SPC ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลคุณภาพต่ำ หรือใช้เทคนิคการผลิตที่ไม่เหมาะสม อาจมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการขยายตัวภายใต้อุณหภูมิที่สูง ซึ่งจะทำให้กระเบื้องยาง SPC โก่งตัวขึ้นส่งผลให้พื้นไม่เรียบเสมอกัน
ความแข็งแรงของคลิกล็อก
การสังเกตว่ากระเบื้องนั้นมีตัวคลิกล็อกที่แข็งแรง หรือไม่นั้น ให้นำกระเบื้องยาง SPC สองแผ่นมาประกบคลิกล็อกกันให้สนิท และทดลองดึงออกจากกัน หลังจากนั้นให้สังเกตดูที่ตัวคลิกล็อกว่ามีการหลุดออกจากกัน หรือมีรอยแตกหักเสียหาย หรือไม่ หากเป็นวัสดุที่มีการผลิตแบบ Recycle จะมีคลิกล็อกที่ไม่แข็งแรงแตกหักได้ง่าย และล็อกไม่สนิททำพื้นเวลาปูจะดูไม่เรียบเสมอกัน
5 ชั้นโครงสร้างของกระเบื้องยาง SPC มีอะไรบ้าง
ชั้นที่ 1. UV Coating : เคลือบด้วย PU ช่วยป้องกันรอยขีดข่วน และคราบสกปรก ป้องกันรังสี UV จากแสงแดด ช่วยให้พื้น SPC สวยงามเหมือนใหม่อยู่เสมอ
ชั้นที่ 2. Wear Layer : ชั้นกันความสึกหรอ มีลักษณะเป็นแผ่นโพลีเมอร์ ช่วยป้องกันคราบสกปรก และรอยขีดข่วนเช่นเดียวกัน
ชั้นที่ 3. Wood Veneer : ชั้นลวดลาย ช่วยเพิ่มลวดลายให้สวยงามยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้ากับผนัง และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
ชั้นที่ 4. 100% Virgin Extruding diamond core board : ชั้นกลาง และ Click Lock System ช่วยให้ร่องรอยต่อแนบสนิท ติดตั้งง่าย เพิ่มความแข็งแรง ความแกร่ง ช่วยให้การคงตัวของวัสดุให้ดียิ่งขึ้น
ชั้นที่ 5. IXPE : เป็นเซลล์แบบปิดจึงไม่มีการดูดซึมน้ำ กันน้ำได้ 100% ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน หมดปัญหาเรื่องเชื้อรา และแบคทีเรีย พร้อมทั้งเป็นฉนวนกันเสียงช่วยลดเสียงระหว่างพื้นกับเพดานชั้นล่าง
คุณสมบัติของกระเบื้องยาง SPC มีอะไรบ้าง
1.
Anti Cigarette Burning : พื้นไม้ SPC เป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟ และทนต่อสารเคมีที่อาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในการใช้งาน เช่น ความร้อนจากก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งลงบนพื้นแล้วยังไม่ดับสนิท
2.
Waterproof : ชั้น Diamond core board มีส่วนผสมของหินธรรมชาติ ทำให้แผ่น SPC ไม่ดูดซึมน้ำ และไม่บวมน้ำ
3.
Stain & Scratch Resistance : พื้นไม้ SPC มี DURABLE WEAR LAYER ที่ทนทาน ทำหน้าที่ป้องกันรอยขีดข่วน ต้านทานคราบสกปรก และมีคุณสมบัติกันน้ำที่เหนือกว่าไม้ลามิเนตทั่วไป
4.
Durability : กระเบื้องยาง SPC มีความแข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 15 ปี มีโฟม IXPE ช่วยรองรับแรงกระแทก และการกดทับได้ดี พร้อมทั้งเป็นฉนวนกันเสียง ช่วยลดเสียง ระหว่างพื้นกับเพดานชั้นล่าง
ความหนาของกระเบื้องยาง SPC ความหนาของกระเบื้องยาง SPC โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 4-8 มม. แต่สิ่งสำคัญคือเราควรเลือกความหนาที่เหมาะสมตามการใช้ เช่น ในบริเวณพื้นที่นั้นมีคนสัญจรค่อนข้างเยอะ และไม่มีการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์บ่อย กระเบื้องยาง SPC ที่มีความหนา 4-5 มม. ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียว แต่ถ้าในพื้นที่นั้นมีการวาง หรือเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อยู่บ่อยครั้งแนะนำให้เลือกกระเบื้องยาง SPC ที่มีความหนา 5 มม. เป็นต้นไป เพื่อรองรับการใช้งานตามความเหมาะสม และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
สำหรับใครที่กำลังมองหา หรือมีแพลนที่จะซื้อกระเบื้องยาง SPC ที่ผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ และง่ายต่อการติดตั้ง สามารถแวะไปเยี่ยมชมสินค้าได้ที่ :
https://bit.ly/46EpfxD