หลายคนเคยมีอาการเบื่อสไตล์ห้องแบบเก่า ทั้งในส่วนของพื้น และผนัง เลยอยากทำการปรับปรุงห้องให้ถูกใจกับสไตล์ใหม่ที่ชื่นชอบ การปรับปรุงห้องไม่จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณที่สูงเสมอไป โดยเฉพาะห้องที่มีการใช้กระเบื้องปูเอาไว้ สามารถทำการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าได้ วิธีการนี้ช่วยประหยัดงบประมาณ และประหยัดเวลาไปได้มาก มีวิธีการที่ง่ายสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ในบทความนี้ ไทย สุงฯ นำเทคนิคการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าด้วยตัวเองแบบไม่ง้อช่าง มาฝากให้ทุกคนกัน
ข้อควรระวังก่อนทำการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า
1. ตรวจสอบสภาพกระเบื้องเก่าก่อนทำการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่านั้นควรตรวจสอบสภาพของกระเบื้องเก่าที่จะทำการปูทับ หากพบว่ากระเบื้องเก่ามีภาพไม่สมบูรณ์ เช่น กระเบื้องหลุด กระเบื้องร่อน และกระเบื้องโก่ง รวมไปถึงพบปัญหาน้ำรั่วซึม และเชื้อราบริเวณกระเบื้อง หากพบปัญหาเหล่านี้ควรรีบเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นนั้นออกโดยทันที หากไม่ทำการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าที่มีปัญหาเหล่านี้ ในอนาคตหากกระเบื้องเก่าระเบิดก็จะส่งผลโดยตรงต่อกระเบื้องใหม่ที่ปูทับไว้
2. ตรวจสอบระดับประตูหากห้องที่ต้องการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่านั้นมีประตูอยู่ ควรทำการตรวจสอบระดับของประตูว่า มีช่องว่างเหลือไว้ให้กับระดับของกระเบื้องใหม่ที่จะทำการปูทับ หรือไม่ โดยช่องว่างของประตูนั้นควรอยู่ที่ 1-2 เซนติเมตร หากตรวจสอบดูแล้วว่า ประตูไม่มีช่องพอสำหรับระดับพื้นที่ต้องปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า ต้องทำการถอดประตูออกมาเพื่อเจียรฐานประตูออกให้พอดีกับระดับของกระเบื้องที่ต้องการ
3. เลือกรูปแบบการปูให้เหมาะสมสำหรับการปูกระเบื้องทับกระเบื้องใหม่นั้นจะต้องทำการปูกระเบื้องด้วยปูนกาว และต้องปูแบบเต็มแผ่นเท่านั้น ที่สำคัญควรทาปูนกาวบนกระเบื้องใหม่ที่จะทำการปูทับลงไป และทาปูนกาวบนผิวกระเบื้องเก่า วิธีการนี้จะช่วยให้กระเบื้องใหม่ติดทนยิ่งขึ้น กระเบื้องที่ทำการปูทับนั้นจะมีข้อจำกัดอยู่มากกว่ากระเบื้องที่ปูบนพื้นปกติทั่วไปจึงไม่ควรปูกระเบื้องทับด้วยวิธีการปูแบบซาลาเปา เพราะอาจส่งผลเสียให้กับกระเบื้องในอนาคต
เทคนิคการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า
1. ทำความสะอาดผิวกระเบื้องเก่าทำความสะอาดคราบสกปรก รวมไปถึง ฝุ่น และคราบน้ำมันบนผิวกระเบื้องเก่าออกให้หมดจด ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำจากนั้นใช้แปรงขัดจนคราบสกปรกหลุดออกจนหมด หากพื้นผิวกระเบื้องเก่าไม่ได้สกปรกมากให้ทำการใช้แผ่นทำความสะอาด หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดทำความสะอาดก็ได้เช่นกัน
2. ทาไพรเมอร์เพิ่มการยึดเกาะไพรเมอร์ หรือรองพื้นสำหรับผิวมัน ทำหน้าที่เคลือบพื้นผิวที่มีรอยแตกขนาดเล็ก หรือพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอสามารถปูกระเบื้องทับได้อย่างเรียบเนียน มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการยึดเกาะระหว่างกระเบื้องเก่า กับปูนกาวที่ใช้สำหรับการปูกระเบื้องใหม่ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้กระเบื้องใหม่หลุดล่อนหลังการปู
3. เลือกปูนกาวที่มีคุณภาพการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าควรใช้ปูนกาวในการปูกระเบื้อง เพื่อช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี ควรเลือกใช้ปูนกาวที่มีคุณสมบัติยึดเกาะที่สูง เพื่อให้กระเบื้องใหม่ยึดเกาะกับกระเบื้องเก่าได้ดี สำหรับห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณที่โดนความชื้นอยู่เป็นประจำ ควรเลือกใช้ปูนกาวที่มีคุณสมบัติกันเชื้อรา
4. เทคนิคปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าเริ่มต้นปูกระเบื้องใหม่โดยวางจากจุดกึ่งกลางของพื้นที่แล้วค่อย ๆ วางกระเบื้องออกไปยังด้านข้าง ให้ใช้ตัวเว้นระยะ (spacer) ระหว่างแผ่นกระเบื้องเพื่อให้ได้ร่องยาแนวที่เท่ากัน จากนั้นใช้เกรียงหวีปาดกาวปูกระเบื้องให้ทั่วบริเวณที่ต้องการปูเพื่อให้กาวกระจายตัวเสมอกัน
5. ลงยาแนวเพื่อเก็บรายละเอียดหลังจากปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อย ควรปล่อยให้ปูนกาวแข็งตัว จากนั้นทำการลงยาวแนวบนกระเบื้อง ในขั้นตอนนี้ควรเลือกใช้ยาแนวให้เหมาะสมกับการใช้งานของกระเบื้อง ส่วนของห้องน้ำ และห้องครัว ควรเลือกใช้ยาแนวสำหรับห้องน้ำ ป้องกันเชื้อรา จะช่วยให้อายุการใช้งานของกระเบื้องนั้นยาวนาน รวมไปถึงป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับกระเบื้องในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
6. เพิ่มประสิทธิภาพของกระเบื้องหลังการปูเมื่อทำการลงยาแนว และทำความสะอาดคราบยาแนวเรียบร้อยแล้ว ควรเลี่ยงการใช้งานในบริเวณกระเบื้องที่พึ่งปูเสร็จ ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ปูนกาว และยาแนวแห้งสนิท นอกจากนี้ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดกระเบื้องผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่กำหนดบนผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดกระเบื้องเป็นประจำ เพื่อให้ผิวกระเบื้องมีความเงางาม และใช้งานได้อย่างยาวนานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ข้อดี และข้อเสียในการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า
ข้อดี1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่านั้นเป็นการปูที่ไม่ต้องทำการรื้อกระเบื้องเก่าออก ช่วยให้ประหยัดค่าใช้งานสำหรับการรื้อ และเตรียมพื้นผิวทีมีราคาค่อนข้างสูงไปได้
2. สะดวก และประหยัดเวลาเนื่องจากไม่การปูทับกระเบื้องเก่าไม่จำเป็นต้องทำการรื้อกระเบื้องออกทำให้ประหยัดเวลา โดยเฉพาะในบริเวณที่มีพื้นที่กว้าง วิธีการนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่อย่างเร่งด่วน รวมไปถึงพื้นที่ที่มีการใช้งานอยู่เป็นประจำ
ข้อเสีย1. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างเดิมของอาคาร หากโครงสร้างอาคารออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้จำกัดการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า อาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าว และปัญหาต่อโครงสร้างของอาคารได้ โดยเฉพาะอาคารที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
2. ความสูงของพื้นเพิ่มมากขึ้นเมื่อปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า ความหนาของกระเบื้องจะทำให้พื้นสูงขึ้น ซึ่งอาจสร้างปัญหากับการติดตั้งประตู หรือขอบประตู รวมถึงต้องระวังเรื่องการปรับระดับพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น การเดินสายไฟ หรือการติดตั้งพื้นในส่วนอื่น ๆ ที่อาจต้องปรับระดับให้เท่ากัน
3. ยากต่อการซ่อมแซมเมื่อเกิดปัญหาหากในอนาคตต้องการซ่อมแซม หรือปรับปรุงพื้นที่อีกครั้ง การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าอาจทำให้การซ่อมแซมยุ่งยากขึ้น เพราะต้องรื้อกระเบื้องสองชั้นออกก่อนจึงจะสามารถเข้าถึงพื้นผิวด้านล่างได้ ทำให้มีค่าใช้จ่าย และเวลาที่สูงหากต้องทำการซ่อมแซม
การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดงบประมาณ และเวลาในการปรับปรุงห้อง อย่างไรนั้นควรตรวจสอบสภาพของกระเบื้องเก่า และระดับของประตูให้ดีก่อนทำการปู การทำความสะอาดพื้นกระเบื้องก่อนทำการปู รวมถึงการใช้ปูนกาว และไพรเมอร์จะช่วยให้การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การปูแบบนี้มีข้อดีคือสะดวก และไม่ต้องรื้อกระเบื้องเก่า แต่ข้อเสียคือเพิ่มน้ำหนัก และความสูงของพื้น ทั้งยังซ่อมแซมยากในอนาคต ที่ ไทย สุงฯ เราจำหน่ายกระเบื้องคุณภาพพรีเมียมมีให้เลือกมากกว่า 2,000 รายการ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการติดตั้งกระเบื้อง ปูนกาว และยาแนวกระเบื้องคุณภาพให้เลือกตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน ช่วยให้การติดตั้งกระเบื้องไปอย่างง่ายดาย