ค้นหา

Tips&Ideas


รู้หรือไม่ การปูกระเบื้องแบบเปียก และแบบแห้ง แบบไหนดีกว่ากัน

 การเลือกวิธีปูกระเบื้องควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของพื้นผิวที่ต้องการปูกระเบื้อง ลักษณะการใช้งานของพื้นที่ และงบประมาณ เป็นต้น หากพื้นผิวเรียบ และต้องการปูกระเบื้องในระยะเวลาอันสั้น การปูกระเบื้องแบบเปียกก็อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าพื้นผิวไม่เรียบ หรือต้องการปูกระเบื้องในพื้นที่สูง และมีโครงเหล็กเสริมความทนทานต่อการสั่นสะเทือน การปูกระเบื้องแบบแห้งก็เป็นวิธีที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน

TABLE OF CONTENT



การปูกระเบื้องแบบเปียกคืออะไร

 เป็นวิธีการปูกระเบื้องที่ช่างส่วนใหญ่นิยมเนื่องจากทำให้กระเบื้องยึดเกาะได้ดี และไม่หลุดร่อนง่ายโดยการใช้ปูนกาว และน้ำ ผสมกันตามสัดส่วนให้เข้ากัน และนำมาปาดที่พื้น หรือผนังในตำแหน่งที่เราต้องการจะปู หรือจะปาดบนหลังกระเบื้องก็ได้เช่นเดียวกัน หลังจากนั้นก็สามารถปูกระเบื้องตามตำแหน่งที่ต้องการได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้ปูนแห้ง แล้วใช้ค้อนยางเคาะปรับระดับตามที่เราต้องการ

การปูกระเบื้องแบบแห้งคืออะไร

 การปูกระเบื้องแบบแห้ง ( Dry Process/Mechanical Fixing ) เป็นวิธีการปูกระเบื้องโดยใช้โครงเหล็กเป็นตัวยึดกระเบื้องกับผนัง เหมาะกับงานติดตั้งบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ หรือผนังที่มีความสูง จะใช้พุก และเพลทสเตนเลสในการยึดกระเบื้องกับโครงสร้าง ซึ่งวิธีนี้อาจจะต้องใช้ต้นทุนสูง และต้องเว้นพื้นที่การติดตั้งให้ห่างออกจากผนังที่สำคัญคือต้องระวังการแตกร้าวในขณะติดตั้ง

เปรียบเทียบการปูกระเบื้องแบบเปียกและแบบแห้ง

ประเภท
การปูกระเบื้องแบบเปียก
การปูกระเบื้องแบบแห้ง
เหมาะสำหรับ
ปูงานพื้น และงานผนังภายในอาคาร หรือผนังที่สูงไม่เกิน 3 เมตร

หากต้องการปูผนังสูง ควรใช้ปูนซีเมนต์ที่มีการยึดเกาะพิเศษกว่ารุ่นธรรมดา
ปูงานผนังภายนอก อาคารสูง  สำหรับกระเบื้องหนา 2 cm ขึ้นไป หรืองานหินที่มีความหนาเท่านั้น
ต้นทุน
 ต้นทุน : ต่ำ
-กระเบื้องสามารถหลุดล่อนออกได้
 ต้นทุน : สูง
-กระเบื้องไม่สามารถหลุดล่อนออกได้
เวลาในการดำเนินการ
-วิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก ทำง่ายกว่า แต่คุณจะเสียเวลาในการติดตั้งมากกว่า
-วิธีการปูกระเบื้องแบบแห้ง ประหยัดเวลาในการติดตั้ง ให้ความสะดวก สบาย และรวดเร็ว
ความคงทน

สามารถอยู่ได้ระยะยาวเกิน 20+ ปี สำหรับงานพื้น และงานผนังสูงไม่เกิน 3เมตร

แต่หากผนังแนวสูงเกิน 3เมตร อาจมีการหลุดล่อนหลังใช้ไปสักระยะเนื่องจากกาวซีเมนต์เสื่อมสภาพ

-ทนต่อสภาพอากาศ ทนแดด ทดฝน
-แข็งแรง คงทนกว่า เพราะมีเหล็กยึดกระเบื้องอยู่
ข้อจำกัด
-แรงงานทั่วไปสามารถทำได้
-ต้องใช้คนงานที่มีทักษะ
ซ่อมแซม
-สามารถเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นที่ชำรุดได้ง่ายกว่า เปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่ชำรุดได้
-เมื่อกระเบื้องเกิดความเสียหายไม่สามารถเปลี่ยนแค่แผ่นเดียวได้ต้องเปลี่ยนแผ่นอื่นด้วย

-ใช้ได้ทั้ง ภายใน และภายนอกอาคาร
-ส่วนใหญ่ใช้สำหรับ ภายนอกของอาคาร

-การติดตั้งระหว่างผนังกับกระเบื้อง
มีระยะห่างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
-การติดตั้งระหว่างผนังกับกระเบื้อง
มีระยะห่างประมาณ 30-45 มิลลิเมตร

 ทั้งนี้ การปูกระเบื้องแบบเปียก และการปูกระเบื้องแบบแห้งต่างก็มีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป การเลือกวิธีปูกระเบื้องที่เหมาะสมควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของพื้นผิวที่ต้องการปูกระเบื้อง ลักษณะการใช้งานของพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น

 สำหรับลูกค้าที่ต้องการปูงานพื้น และผนังที่สูงไม่เกิน 3 เมตร ทางไทย สุงฯ แนะนำวิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก ตามขั้นตอนต่อไปนี้



ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

1.การปูกระเบื้องแบบเปียก

วิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก โดยใช้ปูนกาวมีขั้นตอนหลักดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว :

ให้ช่างหน้างานเคลียร์พื้นที่ ที่ต้องการจะปูกระเบื้อง ให้แน่ใจว่าได้ระดับเท่ากัน ไม่มีเศษหิน หรือแน่ใจว่าพื้นผิวที่ต้องการสะอาด และแห้งดีแล้ว ต่อมาเอาผงฝุ่น และความมันออกจากพื้นผิวถ้ามี หากพื้นผิวมีรอยแตก หรือรูขนาดใหญ่ ให้ซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน


ขั้นตอนที่ 2 ทำการประเมิน และติดตั้งกระเบื้อง :

ประเมินพื้นที่จริงหน้างานว่าขนาดกว้าง และยาว เท่าไร เพื่อคำนวณปริมาณกระเบื้องที่เหมาะสม และจัดแผนการวางกระเบื้องให้ลงบนพื้นที่นั้น ๆ โดยสามารถใช้เครื่องมือในการตัดกระเบื้องแต่งให้เข้ากับขอบ หรือมุมได้อย่างเหมาะสม


ขั้นตอนที่ 3 เตรียมปูนกาว :

ผสมปูนกาวตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากปูนกาวแต่ละรุ่นมีความหนืดต่างกัน โดยต้องใช้ปริมาณน้ำที่ผสมแตกต่างกันไป กรณีที่เป็นงานผนัง หรือ งานกระเบื้องปูพื้นภายนอกต้องเจอกับสภาพอากาศที่แปรปรวน แนะนำให้ใช้ปูนกาวเป็นปูนกาวพิเศษสำหรับการปูกระเบื้องภายนอกเท่านั้น เพื่อให้มีความยืดหยุ่น กันน้ำได้ดี และยับยั้งการเกิดเชื้อราเบื้องต้นได้


ขั้นตอนที่ 4 ปูปูนกาว :

ใช้คีม หรือไม้ขูดกาวเพื่อทาปูนกาวลงบนพื้นหน้างานที่เตรียมไว้ และทาปูนกาวลงที่หลังของกระเบื้อง หลังจากนั้นช่างควรใช้ค้อนยางเพื่อกดแน่นกระเบื้องลงบนปูนกาว


ขั้นตอนที่ 5 วางกระเบื้อง :

วางกระเบื้องลงบนปูนกาวด้วยความระมัดระวัง เริ่มจากปูกระเบื้องจากตัวมุมห้องในพื้นหน้างาน  และใช้อุปกรณ์ทำประเมินระยะห่างระหว่างกระเบื้อง เพื่อให้มีความเท่ากัน


ขั้นตอนที่ 6 ตั้งระยะห่าง :

ในกรณีที่มีกระเบื้องใหญ่ ควรวางกระเบื้องเพื่อให้มีระยะห่างที่เท่ากัน ตัวคัดร่อง ขนาดเล็กสำหรับการช่วยปรับระยะห่าง และ ตัวปรับระดับ ช่วยลดการโก่งงอของกระเบื้อง


ขั้นตอนที่ 7 ล้างส่วนที่เกิน :

หลังจากปูกระเบื้องเสร็จสิ้น ล้างคราบยาแนวที่เกินขอบกระเบื้องด้วยน้ำสะอาด อย่าปล่อยให้กาวแห้งบนพื้นผิวกระเบื้องเป็นเวลานาน เนื่องจากจะทำความสะอาดได้ยากในภายหลัง


ขั้นตอนที่ 8 ทำความสะอาด และบำรุงรักษา :

หลังจากกระเบื้องแห้งแล้ว ควรทำความสะอาด และบำรุงรักษากระเบื้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อรักษาความสวยงาม และความทนทาน เช่น

          ● ควรทำความสะอาดกระเบื้องด้วยน้ำสะอาด หรือผสมผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ และไม่ควรราดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบนผิวหน้ากระเบื้องไว้นานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดคราบติดกระเบื้องได้
          ● ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์สูตรเข้มข้นที่มีส่วนผสมของกรดต่าง ๆ เช่น กรดไฮโดรคลอริก ( กรดเกลือ ), กรดไนตริก ( กรดดินประสิว ), กรดซัลฟิวริก ( กรดกำมะถัน ), กรดไฮโดรฟลูออริก ( กรดกัดแก้ว ) เป็นต้น
          ● ไม่ควรใช้สารเคมีประเภทไอโซโพรพิล ( แอลกอฮอล์ 70% ) ในการทำความสะอาด

ขั้นตอนที่ 9 ปล่อยเวลาให้กระเบื้องแห้งสนิท :

รอให้ปูนแห้งสนิทเป็นเวลา 24 - 48 ชม. ก่อนยาแนว หากเกิดการขยับของกระเบื้องก่อนที่ปูนจะแห้งสนิท อาจทำให้กระบื้องเอียง และหมิ่นเสียหายได้ รอให้ปูนแห้งสนิทเพื่อให้เห็นคุณสมบัติที่ดีที่สุดก่อนที่จะนำใช้งาน




( ภาพตัวอย่างการปูแบบแห้งด้วยกระเบื้อง รหัสสินค้า GT6633N )


 สำหรับลูกค้าที่ต้องการปูงานผนังภายนอกอาคาร หรือผนังที่สูงเกิน 3 เมตร ทางไทย สุงฯ แนะนำวิธีการปูกระเบื้องแบบเเห้ง ตามขั้นตอนต่อไปนี้

2.การปูกระเบื้องแบบแห้ง

โดยใช้วัสดุ นอต และโครงเหล็ก นึงยึดติดกับกำแพงมีขั้นตอนหลักดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบผนัง :

ตรวจสอบว่าผนังเรียบ และไม่มีความเสียหาย ถ้ามีความเสียหายให้ซ่อมแซมก่อนติดกระเบื้อง ทั้งนี้ก่อนติดตั้งกระเบื้องแบบแห้งให้ปรึกษาวิศวกรผู้คุมงานว่าผนัง และโครงสร้างสามารถรับน้ำหนักได้ หรือเปล่า เนื่องจากน้ำหนักของกระเบื้อง และโครงเหล็กจะไปกดทับโครงสร้าง


ขั้นตอนที่ 2 เตรียมผนัง :

เตรียมผนังที่ต้องการติดตั้ง เช่น เคลียผนังที่มีปูนที่แตกเป็นรูขนาดใหญ่ ด้วยการซ่อมพื้นผิวให้เรียบได้ระดับที่เสมอกัน เพื่อสะดวกต่อการเจาะเพื่อติดตั้ง หรือมีวัสดุอื่นติดอยู่ที่ผนัง เช่น ซึ่งอาจทำให้การติดตั้งด้วยการเจาะไม่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ ควรเคลียวัสดุอื่นออกจากพื้นที่ ที่ต้องการติดตั้งให้หมด


ขั้นตอนที่ 3 ติดเหล็กเจาะรู และนอต :

ติดตั้งโครงเหล็ก และกระเบื้องเข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องเจาะรู เพื่อเจาะรูในผนังตามตำแหน่งที่ต้องการ ติดกระเบื้องใส่กับเหล็ก เจาะรูให้ตรงตามรูที่เจาะ และใส่นอตติดกับเหล็ก วางกระเบื้องให้ระยะห่างเท่ากัน


ขั้นตอนที่ 4 ปรับระดับ :

ใช้เครื่องมือในการวัดระนาบ และระดับของกระเบื้อง กรณีที่กระเบื้องมีความลอย หรือไม่ได้ระดับ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเบื้องมีการวางแน่น และไม่มีรอยแตกร้าว


ขั้นตอนที่ 5 ทำความสะอาด :

สุดท้ายให้ทำความสะอาดผนัง และกระเบื้อง ไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่น ลดการเกิดคราบฝังแน่น หรือไม่ให้เศษเหล็ก, เศษกระเบื้อง ยังคงหลงเหลืออยู่


 การปูกระเบื้องแต่ละแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน ไทย สุงฯ แนะนำให้ใช้ การปูกระเบื้องแบบเปียก เพราะการใช้ปูนกาวปูตามแบบทั่วไป เป็นที่นิยม และใช้กันอย่างแพร่หลาย ต้นทุนต่ำ และอายุการใช้งานยาวนาน ต่างจากการปูกระเบื้องแบบเเห้ง ที่ใช้โครงเหล็ก และนอต เป็นตัวยึดติดกับกระเบื้อง ซึ่งใช้ต้นทุนสูง คนส่วนใหญ่ไม่นิยมติดตั้งแบบแห้ง เพราะต้องมีช่างที่มีทักษะในการติดตั้ง ส่วนใหญ่จะใช้งานภายนอกอาคาร อีกทั้งช่องว่างระหว่างกระเบื้องอาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษได้



สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

qr_line_thaisoung
line_thaisoung
facebook_thaisoung
instagram_thaisoung
tiktok_thaisoung

tel:0 2138 8911

telephone_thaisoung
Thaisoung_writer

THAI SOUNG WRITER

เชี่ยวชาญเรื่องกระเบื้องปูพื้นและบุผนังมามากกว่า 22 ปี เราพร้อมมุ่งมั่นมอบความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเบื้องทุกประเภท เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถเลือกใช้กระเบื้องที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณด้วยมาตรฐานและคุณภาพสูงสุด

บทความ ล่าสุด